วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ณ. ชลนารา

ณ. ชลนารา  สวนอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา  บรรยากาศร่มรื่นสวยงาม มีต้นหูกวางที่มีอายุเป็นหลายสิบปี แผ่ร่มเงาทำให้ที่นี่่ดูร่มรื่นสบายตา  ประกอบกับการตกแต่งสถานที่ให้ทันสมัยสวยงามลงตัว เข้ากับบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ อาหารยังโดดเด่นไม่เป็นรองที่ไหน ๆ เชียวคะ

นอกจากนี้ มารยาทของพนักงานในการให้บริการ เท่าที่ผู้เขียนได้สัมผัสมา ก็มีมารยาทดี และให้บริการดีคะ

คุณนั้ง (เจ้าของร้าน)  จบทางด้านสถาปัตยกรรมโดยตรง  ได้ออกแบบสถานที่ ณ. ชลนารา ด้วยตนเอง ใช้งบประมาณไปถึง 5 ล้านบาท

คุณนั้ง มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหารมาหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นการเช่าสถานที่ จึงต้องย้ายมากิจการมาเรื่อย ๆ จนได้มาเริ่มกิจการแห่งปัจจุบัน ที่ ณ. ชลนารา   แม้ว่าร้านจะใหม่  แต่ผู้บริหารเก๋าทีเดียว  ทั้งด้านอาหาร และ การตกแต่งสถานที่




ณ. ชลนารา หน้าร้าน
ทางเข้าร้าน ณ. ชลนารา

ณ. ชลนารา


ณ. ชลนารา

ณ. ชลนารา




ผู้เขียนมีโอกาสได้รับประทานอาหารร้าน ณ. ชลนารา หลายครั้งแล้ว แต่อาหารที่ชอบ  และมักจะสั่งซ้ำ ๆ ได้แก่

ณ. ชลนารา โรตีแกงเขียวหวานไก่
โรตีแกงเขียวหวานไก่

โรตีแกงเขียวหวานไก่  

ลักษณะดีเด่น คือ โรตี  ที่ทอดจนกลมปล่องกลาง  กรอบมาก เมื่อราดด้วยแกงเขียวหวานที่รสชาติกลมกล่อม เผ็ดกำลังดี (สำหรับคนภาคกลาง) เมื่อนำเข้าปากแล้วก็ยังกรอบ เหนียวนุ่ม อร่อยมาก จนต้องสั่งซ้ำทุกครั้งที่ไปร้านนี้ทีเดียว  (จากการสังเกตุดูโต๊ะอื่น ๆ ก็เห็นสั่งกันทุกโต๊ะนะคะ)
ณ. ชลนารา คอหมูทอดคั่วเกลือ
คอหมูทอดคั่วเกลือ

คอหมูทอดคั่วเกลือ  

ลักษณะดีเด่น คือ คอหมูทอดกรอบนุ่มกำลังดี ติดมันที่ทอดจนเหลือง รสชาติเค็มนิดหน่อย เมื่อรับประทานแกล้มกับ หมี่กรอบ เข้ากันได้ดีจริง ๆ คะ รายการนี้ก็เป็นอีกรายการที่ผู้เขียนต้องสั่งซ้ำทุกครั้ง แต่รับประทานมาก ๆ ระวังอ้วนนะคะ 
พล่าปลาแซลมอน

พล่าปลาแซลมอน  

ลักษณะดีเด่น คือ ปลาแซลมอนสด กินคู่กับสมุนไพรไทย ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง ใบสาระแหน่ กับน้ำยำ รสชาติ เค็ม ๆ  เปรี้ยว ๆ เผ็ดนิดหน่อย เข้ากันได้ดีทีเดียว ปลาของนอกประยุกต์ กับการทำอาหารแบบไทย ๆ อร่อย แซ่บคะ 

ณ. ชลนารา พล่าปลาแซลมอนพันกุ้งแช่น้ำปลา
พล่าปลาแซลมอนพันกุ้งแช่น้ำปลา

พล่าปลาแซลมอนพันกุ้งแช่น้ำปลา 

ลักษณะดีเด่น คือ น้ำจิ้มซีฟู๊ดที่ราดมาบนกุ้งแช่น้ำปลา รสชาติจัดจาน กินกับกุ้งและปลาแซลมอนสด ๆ แซ่บมากคะ รสชาติน้ำจิ้ม แซ่บแบบไทย ๆ ถึงใจจริง ๆ

รายการอาหารที่อร่อย ๆ ยังมีอีกมาก ตามรายการด้านล่าง  เลือกชิมตามใจชอบนะคะ


ณ. ชลนารา ไส้กรอกเยอรม้นรวมจานใหญ่
ไส้กรอกเยอรม้นรวมจานใหญ่
ณ. ชลนารา ไก่ทอดครีมซอสมะนาว
ไก่ทอดครีมซอสมะนาว
ณ. ชลนารา ปลาทัพทิมหน้าเดียวสมุนไพร
ปลาทัพทิมหน้าเดียวสมุนไพร
ณ. ชลนารา หอยแมลงภู่นิวซีแลนด์ จี๊ดจ๊าด
หอยแมลงภู่นิวซีแลนด์ จี๊ดจ๊าด
ณ. ชลนารา แป๊ะซะปลาช่อนทอดผักกะเฉด
แป๊ะซะปลาช่อนทอดผักกะเฉด
ณ. ชลนารา หอยแมงภู่นิวซีแลนด์อบ
หอยแมงภู่นิวซีแลนด์อบ
ณ. ชลนารา หลนปูมะพร้าวอ่อน
หลนปูมะพร้าวอ่อน
ณ. ชลนารา กุ้งดีดดิ้น ณ ริมชล
กุ้งดีดดิ้น ณ ริมชล

ณ. ชลนารา ต้มแซ่มกระดูกหมู
ต้มแซ่มกระดูกหมู

ณ. ชลนารา หมูประเทืองลิ้น
หมูประเทืองลิ้น
ณ. ชลนารา ห่อหมกทะเลทอด
ห่อหมกทะเลทอด
ณ. ชลนารา เชฟเบื่อทำ
เชฟเบื่อทำ





ณ. ชลนารา เวลาค่ำ

ณ. ชลนารา เวลาค่ำ

ณ. ชลนารา นักร้อง


ณ. ชลนารา ต้นคริสมาสต์




บริเวณนี้ เหมาะในฤดูร้อน หรือฤดูฝน หรือใช้จัดเลี้ยง เนื่องจากจะเป็นสัดส่วนดี  ในห้องนี้กว้างประมาณ 4 เมตร x 6  เมตร  ด้านหน้าจะเป็นประตู และหน้าต่างกระจก เฉพาะประตู สูงประมาณ 4 เมตรได้ ทำให้เรามองออกไปเห็นแม่น้ำเจ้าพระยา ได้กว้างสุดสายตา เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายด้านหน้าของทางเข้าห้องมาให้ดู


ณ. ชลนารา  ห้องจัดเลี้ยง

ณ. ชลนารา  ห้องจัดเลี้ยง

ณ. ชลนารา  ห้องจัดเลี้ยง

รูปภาพติดผนังสวยงามมากคะ  เลยเก็บภาพมาฝาก

ณ. ชลนารา  12 นักษัตร
รูป เศียรพระพุทธรูป กับ 12 นักษัตร

ณ. ชลนารา  กินนรี
รูปกินนรี


ณ. ชลนารา  ห้องจัดเลี้ยง
รูปใบบัวสีทอง

ณ. ชลนารา ผู้ช่วยถ่ายภาพ
ผู้ช่่วยถ่ายภาพ




ที่ ณ.ชลนารา  ห้องสุขาก็ยังสวย และสะอาดด้วยคะ


ณ.ชลนารา ห้องสุขาหญิง
ทางเข้าห้องสุขาหญิง

ณ.ชลนารา ห้องสุขาชาย
ทางเข้าห้องสุขาชาย

ณ.ชลนารา ห้องสุขาชาย
ภายในห้องสุขาชาย


ณ. ชลนารา เปิดบริการ 2 ช่วงเวลา  11.00-14.00 น. และ 17.00 - 23.00 น.
ติดต่อได้ที่เบอร์  085-065-7291

คุณนั้ง เจ้าของร้าน ณ.ชลนารา
คุณนั้ง เจ้าของร้าน ณ.ชลนารา




ณ. ชลนารา ตั้งอยู่ในกรมชลประทาน ถนนสามเสน อยู่ระหว่างแยกศรีย่าน กับแยกบางกระบือ เข้าไปในกรมชลประทาน ผ่านป้อมยาม แล้ววิ่งตรงไปจนสุดถนน เลี้ยวขวาเลียบแม่น้ำ สุดถนนจะเห็นร้าน ณ. ชลนาราพอดีคะ


ณ. ชลนารา แผนที่








goodness updated 25

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ปราสาทหินพนมรุ้ง

ปราสาทหินพนมรุ้ง  เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรขอมโบราณ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา สถาปัตยกรรม และการขยายตัวของชุมชนโบราณในอดีต โดยดูจากหินทรายสีชมพู ที่ใช้ในการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมที่งดงาม และชาญฉลาดมาก (วางแนวประตูของปราสาทให้ตรงกัน 15 ประตู เพื่อให้พระอาทิตย์ขึ้น และพระอาทิตย์ ตกทะลุ 15 ช่องประตู )

ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนปากปล่องของภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วมีอายุถึง 900,000 ปี  หลายคนคงยังไม่เคยรู้ว่าในประเทศไทยก็มี "ภูเขาไฟ"   แต่เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วทุกแห่ง   คงเหลือไว้แต่ร่องรอยของภูเขาไฟในอดีตให้พวกเราได้ศึกษาเท่านั้น

การสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง ประกอบกับความเชื่อ เชื่อในศาสนาฮินดูที่เปรียบปราสาทหินดั่งเทวาลัยของเทพเจ้าบนยอดเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชุมชนที่เขาพนมรุ้งจึงเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากดินภูเขาไฟจะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก เหมาะทำแก่การทำเกษตร ทำให้คนในยุคโบราณ ย้ายมาตั้งถิ่นฐานกัน ดูได้จาก"บาราย" หรือ "อ่างเก็บน้ำ" ใช้ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของ  ปากปล่องภูเขาไฟเดิมเป็นอ่างเก็บน้ำอยู่บนเขาอยู่แล้ว ที่เชิงเขายังมีบารายอีก 2 สระ คือสระน้ำหนองบัวบารายที่เชิงเขาพนมรุ้ง และสระน้ำโคกเมืองใกล้ปราสาทเมืองต่ำ สระน้ำบนพื้นราบเบื้องล่างเขาพนมรุ้งนี้รับน้ำมาจากธารน้ำ  ที่ไหลมาจากบนเขา  นอกจากนี้ยังมีกุฏิฤาษีอยู่ 2 หลัง เป็นอโรคยาศาลที่รักษาพยาบาลของชุมชนอยู่เชิงเขาด้วย

ดิฉันจึงขอนำเสนอ การท่องเที่ยวเขาพนมรุ้ง  ด้วยกัน 2 เรื่อง




ปราสาทิหนพนมรุ้ง หรือ ปราสาทพนมรุ้ง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์   

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ. 2475 ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ต่อมาได้ดำเนินการบูรณะตั้งปี พ.ศ. 2514 จนเสร็จสมบูรณ์ มีการพัฒนาและปรับปรุงดำเนินการเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2531

ปราสาทหินพนมรุ้งมีความโดดเด่นในด้าน

  • การวางผังที่สัมพันธ์กับภูมิประเทศ ตั้งบนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  และสร้างปราสาทด้วยหินทรายสีชมพู
  • การตกแต่งด้วยภาพจำหลักหินที่ทับหลังและหน้าบัน  ด้วยภาพแกะสลักลวดลายรูปเทพเจ้าและเรื่องราวทางศาสนา งดงามมาก  นับเป็นโบราณสถานฝีมือระดับหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าในยุคนั้น  มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากของอาณาจักรขอมโบราณ ที่งดงาม อ่อนช้อย   แข็งแรงทรงพลัง ไปพร้อมๆ กันเป็นเอกลักษณ์ของปราสาทหินสีชมพูแห่งนี้ งดงามด้วยฝีมือช่าง และยังเผยให้เราได้รู้ถึงเรื่องราวเกี่ยวกับการเป็นเทวสถานของพระศิวะ ภาพพิธีกรรมต่างๆและภาพเรื่องราวจากมหากาพย์ของอินเดียคือรามายณะและมหาภารตะ เป็นต้น
  • ปราสาทหินพนมรุ้งได้รับการบูรณะด้วยกรรมวิธีอนัสติโลซิส  เป็นการบูรณะโบราณสถานโดยทำสัญลักษณ์ของชิ้นส่วนต่างๆก่อนจะรื้ออกเพื่อเสริมรากฐาน และนำชิ้นส่วนต่างๆมาประกอบขึ้นใหม่ตามเดิม  วิธีการเช่นนี้ใช้กับปราสาทหินหลายแห่ง เช่นปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน เป็นต้น
  • ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เมษายน) ของทุกปีมีงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง  เป็นงานใหญ่ประจำปี "พระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู"  ทุกๆ ปี จะมีปรากฎการณ์นี้ 4 ครั้ง ด้วยกัน  ในวันนั้นชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน



ปราสาทหินพนมรุ้ง ภาพถ่ายทางอากาศปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
ภาพถ่ายทางอากาศปราสาทหินพนมรุ้ง


ประวัติความเป็นมา


พ.ศ. 1487-1511
พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 3 กษัตริย์แห่งพระนคร ได้สถาปนาเขาพนมรุ้งให้เป็นเทวสถาน ถวายพระศิวะ

พ.ศ. 1511-1544
พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้ทรงอุทิศที่ดินและข้าทาสถวายแด่เทวสถานพนมรุ้ง

พุทธศตวรรษที่ 17
พระนเรนทราทิตย์ เจ้านายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนแถบนี้ (เป็นต้นตระกูลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างนครวัด) ได้สร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้งขึ้น และได้ทรงบำเพ็ญพรตเป็นโยคี

พุทธศตวรรษที่ 18
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นวัดมหายาน


การก่อสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง  แบ่งออกเป็น 4 สมัย


  1. ส่วนที่เก่าที่สุดคือปราสาทอิฐ  จำนวน 2 หลัง  สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 15 ตรงกับศิลปะแบบเกาะแกร์
  2. ปราสาทน้อย สร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะแบบบาปวน
  3. สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่บนศาสนสถานแห่งนี้  มีปราสาทหลังใหญ่เป็นประธานสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ตรงกับศิลปะแบบนครวัด
  4. บรรณาลัย 2 หลัง สร้างราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับศิลปะแบบบายน


สถาปัตยกรรมและโบราณสถาน


บริเวณปราสาทหินพนมรุ้งเดิมเป็นอาณาจักรของขอมโบราณ  ชุมชนขอมในอดีตนับถือศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นิกายปศุปตะ ที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด  ดังนั้นสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพนมรุ้งจึงถูกออกแบบให้สัมพันธ์กับความเชื่อของคนในศาสนาฮินดู

องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทหินพนมรุ้ง  ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง  โดยปราสาทประธาน  จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก



ปราสาทหินพนมรุ้ง แผนผังปราสาทหินพนมรุ้ง
แผนผังปราสาทหินพนมรุ้ง

แผนผังปราสาทหินพนมรุ้ง

เรามาเริ่มเดินทางขึ้นสู่ปราสาทหินพนมรุ้งกันเลยคะ  ทางที่เราใช้ จะเริ่มที่ประตู 2  ของอุทยานประวัติศาตร์พนมรุ้ง

1.  พลับพลาเปลื้องเครื่อง


จะอยู่ทางด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถาน  มีอาคารโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศใต้  อาคารนี้เดิมเรียกว่า “โรงช้างเผือก”  แต่ในปัจจุบันเรียกว่า    "พลับพลาเปลื้องเครื่อง"  บนฐานพลับพลามีเสาหิน 8 ต้น ด้านข้างของอาคารมีระเบียงลักษณะเป็นห้องแคบยาวต่อเนื่องกัน มีมุขยื่นออกมา มีชาลาสำหรับขึ้นลง อยู่หน้ามุขรอบอาคาร 3 สันนิษฐานว่าใช้เป็นที่พักจัดเตรียมพระองค์ สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาสักการะเทพเจ้าหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนา



ปราสาทหินพนมรุ้ง พลับพลาเปลื้องเครื่อง
พลับพลาเปลื้องเครื่อง


2. กระถางรูปดอกบัวแปดกลีบ


ถัดจากนั้นจะเป็นกระถางรูปดอกบัวแปดกลีบ  เป็นที่สำหรับบูชาเทพประจำทิศทั้งแปด  ในศาสนาฮินดู  


3. เสานางเรียง


ทางดำเนิน  คือ ทางเดิน  ที่ทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูม เรียกว่า "เสานางเรียง" มีจำนวนข้างละ 34 ต้นทอดตัวไปยังสะพานนาคราช


ปราสาทหินพนมรุ้ง กระถางรูปดอกบัวแปดกลีบ และทางเดิน เสานางเรียง
กระถางรูปดอกบัวแปดกลีบ และทางเดิน เสานางเรียง


4. สะพานนาคราช 


สะพานนาคราชขั้นที่ 1  ก่อสร้างด้วยหินทราย  ผังเป็นรูปกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร  หันหน้าออกแผ่พังพานทั้ง 4 ทิศ  พญานาคมีรัศมีเป็นแผ่นสลักลายในแนวนอน  อันเป็นลักษณะศิลปกรรม แบบนครวัด   อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17

จุดกึ่งกลางสะพานนาคราช สลักลายเส้นเป็นรูปดอกบัวบานแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปดในศาสนาฮินดู  หรือเป็นยันต์สำหรับบวงสรวงสะพานนาคราช  มีความหมายเชิงสัญลักษณ์เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ จากสะพานนาคราชขั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้น ขึ้นไปยังลานบนยอดเขาพนมรุ้ง


สะพานนาคราช จะมี  3 ชั้นด้วยกัน

  • ชั้นที่ 1  เป็นจุดเชื่อมทางดำเนินเสานางเรียง  กับบันไดทางขึ้นปราสาทไปปราสาทหินพนมรุ้ง   และทางลงสู่สระน้ำปากปล่องภูเขาไฟ
  • ชั้นที่ 2  เป็นจุดเชื่อมทางเดินกากบาท กับ ระเบียงคดทิศตะวันออก
  • ชั้นที่ 3  เป็นจุดซุ้มประตูกลางของระเบียงคดชั้นในกับมณฑปปราสาทประธาน 



ปราสาทหินพนมรุ้ง สะพานนาคราช ชั้นที่ 1
สะพานนาคราช ชั้นที่ 1 (มองจากด้านบนลงมา)

ปราสาทหินพนมรุ้ง สะพานนาคราช ชั้นที่ 1
สะพานนาคราช ชั้นที่ 1


ปราสาทหินพนมรุ้ง สะพานนาคราช ชั้นที่ 1
พญานาคราช

ภาพลายเส้นรูปดอกบัวบานแปดกลีบ


สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพานนาคราช มี ภาพลายเส้นรูปดอกบัวบานแปดกลีบ สันนิษฐานว่าอาจเป็นการจำลองผังของจักรวาล กลีบทั้งแปด คือ ทิศหลักสี่ทิศและทิศเฉียงสี่ทิศ หรืออาจจะถือได้ว่าตั้งแต่ดอกบัวแปดกลีบนี้ ขึ้นไปสู่ศาสนสถานอันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ณ ทิศเบื้องบนนั้นมีแต่ความบริสุทธิ์ และความเป็นสิริมงคลทั้งสิ้น



ปราสาทหินพนมรุ้ง ภาพลายเส้นดอกบัวบานแปดกลีบ
ภาพลายเส้นดอกบัวบานแปดกลีบ



5. ทางเดินกากบาท


อยู่หน้าระเบียงคดด้านทิศตะวันออก มีทางเดิน  ลักษณะเป็นยกพื้นเตี้ยๆ รูปกากบาทก่อด้วยศิลาแลง ผังรูปกากบาทนี้  ทำให้เกิดช่องทางเดิน  เหมือนเครื่องหมายกากบาท  ( + )  และช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ  4 ช่อง   ในปัจจุบันได้ดัดแปลงช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ทั้ง 4 อัน ไปเป็นสระน้ำสำหรับปลูกบัว


ปราสาทหินพนมรุ้ง ทางเดินกากบาท
ทางเดินกากบาท


6. ระเบียงคด


ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชขั้นที่ 2  ระเบียงคดก่อเป็นตัวห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทหินพนมรุ้ง

แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท 

ก่อนถึงตัวปราสาทประธานมีระเบียงคดล้อมเป็นกำแพงชั้นใน   ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า   แต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วง ๆ กึ่งกลางระเบียงคด มี ซุ้มประตู หรือ โคปุระ ทั้ง 4 ด้าน  ผนังด้านนอกมีหน้าต่างหลอกทั้ง 4 ด้าน   หน้าบันของระเบียงคดด้านทิศตะวันออกเป็นภาพฤาษี สันนิษฐานว่าหมายถึงพระศิวะในปางผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ  และอาจหมายรวมถึง นเรนทราทิตย์ผู้สร้างปราสาทหินพนมรุ้งแห่งนี้ด้วย


ปราสาทหินพนมรุ้ง ซุ้มประตูระเบียงคด ทิศตะวันออก
ซุ้มประตูระเบียงคด ทิศตะวันออก


ปราสาทหินพนมรุ้ง สะพานนาคราชขั้นที่ 2 หน้าระเบียงคดทิศตะวันออก
สะพานนาคราชขั้นที่ 2 หน้าระเบียงคดทิศตะวันออก

สะพานนาคราชชั้นที่ 2   มีผังและรูปแบบเหมือนกับสะพานนาคราชชั้นที่ 1  แต่มีขนาดเล็กกว่า  ตรงกลางของสะพานมีภาพสลักรูปดอกบัวบานแปดกลีบเช่นเดียวกัน


ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอกมีภาพจำหลักรูปฤาษี  หมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจหมายรวมถึงพระนเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานปราสาทหินพนมรุ้งด้วย


ปราสาทหินพนมรุ้ง ภาพจำหลักรูปฤาษี
ภาพจำหลักรูปฤาษี

7.  ปราสาทประธาน 


ปราสาทประธานนี้เชื่อว่าสร้างโดยนเรนทราทิตย์อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17   ตั้งอยู่ตรงกลางของศาสนสถาน  ก่อสร้างด้วยหินทรายสีชมพู  มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม  กว้าง 8.20 เมตรสูง 27 เมตร มีมุขยื่นออกมา 3 ด้าน  ทางด้านหน้าทิศตะวันออกมีห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียกว่า มณฑป  โดยมี  "อันตราละ" หรือ "ฉนวน"  เชื่อมปราสาทประธานนี้  ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลางมีห้อง เรียกว่า "ครรภคฤหะ" เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด คือ ศิวลึงค์ ซึ่งแทนองค์พระศิวะ  ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง  ท่อโสมสูตร  คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวะลึงค์

ปราสาทประธานตกแต่งลวดลายจำหลักประดับตามส่วนต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นภาพเล่าเรื่องเทพเจ้าในศาสนาฮินดูเช่น หน้าบันภาพศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ)  ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ภาพในวรรณคดีอินเดียเรื่อง  รามายณะ (รามเกียรติ์)  มหาภารตะ  ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษี   เป็นต้น


ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทประธาน ประตูทิศตะวันออก
ปราสาทประธาน ประตูทิศตะวันออก

ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทประธาน ประตูทิศตะวันออก  และสะพานนาคราช ชั้นที่ 3
ปราสาทประธาน ประตูทิศตะวันออก และสะพานนาคราช ชั้นที่ 3


สะพานนาคราช ชั้น  3  เชื่อมระหว่างซุ้มประตูกลางของระเบียงคดชั้นในกับมณฑปปราสาทประธานมีลักษณะเหมือนกับสะพานนาคราชชั้นที่ 1 และ 2  แต่เล็กกว่า  

พระศิวะร่ายรำ


ภาพแกะสลักบนซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ของปราสาทประธาน  อยู่เหนือ ภาพแกะสลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์  จะเป็นภาพแกะสลักพระศิวะร่ายรำ หรือ พระศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ)


ปราสาทหินพนมรุ้ง พระศิวะร่ายรำ
พระศิวะร่ายรำ


8. พระนารายณ์บรรทมสินธุ์


จะประดับอยู่บนซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ของปราสาทประธาน  

ทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์   ที่เคยสูญหายไป และได้เจอที่สถาบันศิลปะ นครชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา  (The Art Institute of Chicago) ได้มีการติดตามทวงคืน ทั้งจากภาครัฐ และประชาชนชาวไทย มีการแต่งเพลงโดย คุณแอ๊คคาราบาว ได้แต่งเพลง "ทับหลัง"  มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การขอทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์คืนจากสหรัฐอเมริกา เพลงนี้ดังไปทั่วประเทศ ทำให้คนไทยสนใจเรื่องทับหลังพระนารายณ์ กันถ้วนหน้า

สถาบันศิลปะ นครชิคาโก ได้ส่งทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กลับคืนสู่ประเทศไทย และติดตั้งไว้ยังที่เดิมเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม  2531 เวลา 09.09 น.นับเป็นความสำเร็จของคนไทยทั่วประเทศที่  ร่วมกันติดตามสมบัติของชาติกลับคืนมาได้  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  เที่ยวพนมรุ้ง ชมทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ อารยธรรมขอม 




ปราสาทหินพนมรุ้ง ภาพแกะสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์
ภาพแกะสลักนารายณ์บรรทมสินธุ์

พระนารายณ์บรรทมสิทธุ์  (Vishnu Anantasayin) หรือ "วิษณุอนันตศายินปัทมนาภิน" แสดงภาระกิจพระวิษณุเกี่ยวกับการสร้างโลกและจักรวาล เป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ตามคัมภีย์วราหะปุรณะ

พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ บรรทมตะแคงขวา บนพญาอนันตนาคราช  ในเกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม)  พระหัตถ์ขวาหน้ารองรับพระเศียร พระหัตถ์ขวาหลังทรงถือจักร พระหัตถ์ซ้ายหน้าทรงถือคทา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายหลังทรงถือสังข์  ที่ปลายพระบาทของพระนารายณ์ เป็นภาพพระนางลักษมีชายาของพระองค์  เหนือองค์พระนารายณ์ แกะสลักเป็นรูปดอกบัวที่โผล่ขึ้นมาจากพระนาภีองค์พระนารายณ์ ภายในดอกบัวแกะสลักเป็นรูปพระพรหม สี่พักตร์  สี่กร พระหัตถ์ทั้งสี่ไม่สามารถระบุได้ว่าทรงถืออะไร   ภาพทั้งหมดจัดไว้กึ่งกลางทับหลัง

ส่วนด้านซ้ายและด้านขวาของทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์  ทำเป็นรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย เหนือขึ้นไปเป็นรูปครุฑ ข้างครุฑเป็นภาพนกหัสดีลิงค์คาบช้าง และภาพลิงอุ้มลูก  ส่วนด้านใต้หน้ากาลเป็นภาพนกแก้ว 2 ตัว  การออกแบบลวดลายและการแกะสลักประณีต จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นทับหลังที่งดงามที่สุดในประเทศไทย

การบรรทมของพระนารายณ์ คือการสร้างโลก โดยกำหนดอายุของจักรวาล  ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด เรียกว่า หนึ่งกัลป์  ในหนึ่งวันของพระพรหม เมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้าก็จะสร้างสรรพสิ่งต่างๆ  ตลอดทั้งวันถึงเย็น เหตุการณ์เช่นนี้จะวนเวียนไปจนครบ 100 ปี ของพระพรหม (หนึ่งกัลป์) จากนั้นโลกทั้งสามตลอดจนเทพเจ้าต่างๆ รวมถึงพระพรหมจะถูกทำลายลง และพระพรหมองค์ใหม่ก็จะเกิดขึ้นและสร้างโลกต่อไป

ภาพจำหลักดอกบัวแปดกลีบ

เมื่อเราจะเดินผ่านประตูปราสาทประธานด้านทิศตะวันตก เราจะต้องเดินผ่าน ดอกบัวแปดกลีบ เมื่อเดินผ่านไป ก็จะถือว่าได้ชำระล้างให้บริสุทธิ์แล้ว  เพื่อไปทำพิธีสัการะได้  ปัจจุบันจะถูกครอบด้วยเหล็กสีแดง 

ปราสาทหินพนมรุ้ง ดอกบัวแปดกลีบ
ดอกบัวแปดกลีบ (ที่อยู่ในที่ครอบเหล็กสีแดง)



ภายในตัวปราสาทประธาน


ศิวลึงค์


จะประดิษฐานอยู่ตรงกึ่งกลางของเรือนธาตุ ที่เรียกว่า "ห้องครรภคฤหะ" เป็นที่เคารพบูชาที่สำคัญที่สุด

ศิวลึงค์ เป็นเครื่องหมายของพระศิวะ มีตำนานที่หลากหลาย เช่น ในหนังสือศาสนาสากลของหลวงวิจิตรวาทการกล่าวว่า ศิวลึงค์ถือกำเนิดขึ้นมาจากการเอาใจพระแม่กาลี โดยอวัยวะเพศชายที่เป็นสิ่งแทนองค์พระศิวะนี้เป็นสัญลักษณ์ของบ่อเกิดความสมบูรณ์ของชีวิต พืช และสัตว์ต่างๆ


ปราสาทหินพนมรุ้ง ศิวลึงค์
ศิวลึงค์

โคนนทิราช


มีอีกชื่อหนึ่ง คือ "อุศุภราช" เป็นโคเผือกเพศผู้เป็นพาหนะประจำขององค์พระศิวะ และเป็นหัวหน้าเทพบริวารของพระศิวะ  มีความสำคัญอีกมากมาย  จึงได้รับความนิยมในการบวงสรวง และยกย่องให้เป็นโคศักดิ์สิทธิ์  เปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระศิวะมหาเทพ สำหรับในประเทศไทยมีโคนนทิตั้งอยู่ที่ปราสาทหินพนมรุ้งเท่านั้น    


ปราสาทหินพนมรุ้ง โคนนทิราช
โคนนทิราช


9.  ท่อโสมสูตร


คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์ ตั้งอยู่ที่ทางเข้าประตูทิศเหนือ ของปราสาทประธาน


ปราสาทหินพนมรุ้ง ท่อโสมสูตร
ท่อโสมสูตร

ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทประธาน ประดูด้านข้าทิศเหนือ
ปราสาทประธาน ประดูด้านข้าทิศเหนือ


ปราสาทประธาน ประตูด้านข้างทิศเหนือ  มีท่อโสมสูตร (ด้านซ้ายของภาพ) และประตูด้านข้างทิศตะวันตก


ปราสาทหินพนมรุ้ง ซุ้มประตูปราสาทประธานทิศเหนือ
ซุ้มประตูปราสาทประธานทิศเหนือ



10. บรรณาลัย


อยู่ทางด้านหน้าของปราสาทประธาน ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ อาคารสองหลังนี้สร้างด้วยศิลาแลง 


มีประตูทางเข้าด้านเดียว หลังคาทำเป็นรูปประทุนเรือ ภายในไม่มีรูปเคารพ  อาคารลักษณะนี้ เรียกว่า  บรรณาลัย   หมายถึง หอสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา  กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18  ซึ่งเป็นสมัยสุดท้ายของการก่อสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง


ปราสาทหินพนมรุ้ง บรรณาลัย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
บรรณาลัย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ปราสาทหินพนมรุ้ง บรรณาลัย ทิศตะวันออกเฉียงใต้
บรรณาลัย ทิศตะวันออกเฉียงใต้


11. ปราสาทอิฐ 2 องค์


ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของปราสาทประธาน มีปราสาทอิฐ  2 องค์และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้งสองหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธาน สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15   เป็นสถาปัตยกรรมที่มีอายุเก่าที่สุดบนเขาพนมรุ้ง



ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทอิฐ 2 องค์
ปราสาทอิฐ 2 องค์

จากภาพ ปราสาทอิฐ 2 องค์ อยู่ทางด้านข้างของประตูปราสาทประธานทิศตะวันออก (ด้านซ้ายของภาพ) และประตูปราสาทประธานทิศเหนือ (ด้านขวาของภาพ)


ทวารบาล


มีความหมายว่า ผู้รักษาประตู ประติมากรรมประเภททวารบาลคือ รูปของสัตว์ อสูร เทพ เทวดา และมุนษย์ หรือสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็ตามที่ตั้งอยู่บริเวณบานประตู ช่องผ่านเข้าออก ช่องหน้าต่าง หรือราวบันได  
     


ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทประธานด้านทิศตะวันใต้ มีทวารบาล
ปราสาทประธานด้านทิศตะวันใต้ มีทวารบาล

ปราสาทประธานด้านทิศตะวันใต้ จะมีทวารบาล  ที่สมบูรณ์ครบทั้งองค์  ประตูปราสาทประธานทิศตะวันออก ก็มีทวารบาล แต่ถูกทำลายเหลือเพียง แต่ส่วนเท้า 4 ข้างด้วยกัน

12. ปราสาทน้อย


ปราสาทน้อย  หรือ ปรางค์น้อย  สร้างปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับศิลปะแบบบาปวน

ตั้งอยู่ใกล้กับปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมก่อสร้างด้วยศิลาทรายกรุผนังด้านในด้วยศิลาแลง มีประตูทางเข้าทางเดียวคือ ด้านทิศตะวันออก ภายในห้องมีแท่นฐานหินทรายสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ   หน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ  อยู่ท่ามกลางลวดลายพันธุ์พฤกษา


ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทน้อย กับทวารบาล
ปราสาทน้อย กับทวารบาล


พระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู


ปรากฎการณ์ พระอาทิตย์ขึ้น และ ตกทะลุ 15 ช่องประตู จะมีกำหนดการณ์ ดังนี้  

      ครั้งที่ 1– พระอาทิตย์ ตก วันที่ 4-6 มีนาคม เวลาประมาณ 17.58
      ครั้งที่ 2– พระอาทิตย์ ขึ้นวันที่ 1-5 เมษายน เวลาประมาณ 05.56
      ครั้งที่ 3– พระอาทิตย์ ขึ้น วันที่ 8-10 กันยายน เวลาประมาณ 05.58
      ครั้งที่ 4– พระอาทิตย์ ตก วันที่ 5-8 ตุลาคม เวลาประมาณ 17.53


หมายเหตุ ปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ   ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย



ปราสาทหินพนมรุ้ง พระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู
พระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู


ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง


การจัดงานขึ้นเขาพนมรุ้งซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปี  มักจะจัดในวันเสาร์-อาทิตย์ แรก ของเดือน เมษายน จะมีพิธีเปิดงานอันยิ่งใหญ่ มีพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์พนมรุ้ง  ชมขบวนแห่พระนาง ภูปตินทรลักษมีเทวี พระนางจริยาและเทพพาหนะทั้งสิบ ในวันนี้พระอาทิตย์แรกแห่งอรุณจะสาดส่องทะลุผ่านประตูทั้ง 15 ช่อง   ชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน  แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตู ทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี เป็นความมหัศจรรย์ของแสงอาทิตย์ส่องทะลุซุ้มประตู 15 บาน พร้อมกัน

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานสุรินทร์ โทร. 0-44 51-4447 - 8 หรือ ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. 0-4466-6501


ปราสาทหินพนมรุ้ง  ขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง


ปราสาทหินพนมรุ้ง  ขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง



ปราสาทหินพนมรุ้ง  เทพอัปสร พันกร


ปราสาทหินพนมรุ้ง  เทพอัปสร

ปราสาทหินพนมรุ้ง  เทพอัปสรฟ้อนรำ


ปราสาทหินพนมรุ้ง  ขบวนแห่ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง







เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทเมื่อ 900,000 ปีมาแล้ว คำว่า พนมรุ้ง นั้น มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่า ภูเขาใหญ่


ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเขาพนมรุ้ง


เขาพนมรุ้ง เป็นภูเขารูปทรงระฆังคว่ำ มีความสูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ (ประมาณ 350 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง) มีเนื้อที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร  กว้าง 4 กิโลเมตร ยาว 6 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเนินเขาอยู่โดเดี่ยวล้อมรอบด้วยที่ราบจุดสูงสุดประมาณ 383 เมตร  จากระดับน้ำทะเล 

รูปร่างเป็นเนินคล้ายหลังเต่า วางตัวเป็นแนวเหนือ - ใต้ มีหุบปล่องปะทุระเบิดกว้างประมาณ 800 เมตร และลึกประมาณ 60 เมตร ลักษณะเกือบกลม  ที่ขอบปล่องทางทิศใต้เป็นที่ตั้งปราสาทหินพนมรุ้ง  แอ่งปะทุมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) น้ำภายในทะเลสาบจะไหลสู่หุบเขาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดเป็นลำธารที่ไหลอยู่บน  ไหล๋เขาที่สูงชัน เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย  ไหลลงสู่ลำปะเทีย ลำชี และไหลไปรวมกับลำมาศ ลงสู่แม่น้ำมูล แม่โขงและทะเลในที่สุด
การกำเนิดและการแจกกระจายของภูเขาไฟในจังหวัดบุรีรัมย์


ภูเขาไฟพนมรุ้ง
เขาพนมรุ้ง
ภูเขาไฟพนมรุ้ง ภาพถ่ายทางอากาศ
ภาพถ่ายทางอากาศ  ปากปล่องภูเขาไฟพนมรุ้ง
คำอธิบายภาพ
  1. ยอดเขาพนมรุ้ง ที่ตั้งปราสาทหินพนมรุ้ง  (ที่เห็นในภาพเป็นรูป สี่เหลี่ยม)
  2. แอ่งปะทุมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake)  (ที่เห็นในภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยมสีเขียวเข็ม)

ที่จริงแล้ว เขาพนมรุ้ง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปากปล่องภูเขาไฟที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยอยู่  ใจกลางของปล่องภูเขาไฟ คือ แอ่งน้ำในปัจจุบัน  

ภูเขาไฟพนมรุ้ง  เป็นผลจากกระบวนการแปรสัณฐานยุคเทอร์เชียรี ส่งแรงดึงกระทําต่อบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จนเกิดลาวาหลากไหลขึ้นกลางแผ่นทวีป ปิดทับหินทรายและหินทรายแป้งปนกรวดของหมวดหินโคกกรวด  เมื่อเย็นตัวกลายหินบะซอลต์ชนิดฮาวายไอต์สีเทาดำ มักแสดงร่องรอยการไหลของลาวา 



ปราสาทหินพนมรุ้ง หินบะซอลต์ชนิดฮาวายไอต์สีเทาดำ
หินบะซอลต์ชนิดฮาวายไอต์สีเทาดำ


บริเวณยอดเขาพบหินตะกรัน ภูเขาไฟ (scoria) และ หินบอมบ์ภูเขาไฟ (Bomb) หลายขนาด เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าบริเวณเป็นปากปล่องภูเขาไฟ    ทางด้านขวามือของภาพ จะเห็นเป็นบึงน้ำ อันนี้คือ ใจกลางปล่องภูเขาไฟ ที่แต่เดิมจะมีแต่ลาวา ดังนั้นพื้นที่โดนรอบนี้ จะเต็มไปด้วยหินภูเขาไฟ ในลักษณะต่างๆ



ภูเขาไฟพนมรุ้ง หินตะกรัน และหินบอมบ์ภูเขาไฟ
หินตะกรัน และหินบอมบ์ภูเขาไฟ
จากรูปจะเห็นว่าหินที่เขาพนมรุ้ง จะมีรูพรุน  ซึ่งเป็นลักษณะของหินในบริเวณภูเขาไฟ  


ถ้าจำแนกหินภูเขาไฟเหล่านี้ตามลักษณะโครงสร้าง สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้

  1. พวกเนื้อแน่น (Massive Structure) ได้แก่ หินบะซอลต์เนื้อแน่น โรงโม่หินใช้บดและย่อยให้เป็นวัสดุก่อสร้าง
  2. พวกหินมีรูพรุน  คิดเป็นร้อยละน้อยกว่า 50 โดยปริมาตร (Vesicular Structure) เช่น Vesicular Basalt ตามช่องว่างมักจะมีแร่ทุติยภูมิ  (Secondary Mineral) เช่น แคลไซด์ ซีโอไลต์ หรือควอร์ต (Quartz) ตกผลึกแทรกอยู่ เรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า Amygdaloidal  Structure หินภูเขาไฟแบบนี้ จะพบในเขตใกล้ช่องประทุ
  3. พวกมีรูพรุนคิดเป็นร้อยละ เกิน 50 โดยปริมาตร (Scoriaceous Structure) ได้แก่ หินสกอเรีย (Scoria or Slag) ส่วนมากเป็น Scoraceous Basalt หินเหล่านี้จะพบในเขตช่องปล่องประทุและน้ำหนักเบา บางก้อนลอยน้ำได้คล้ายหินพัมมิส (Pumice) แต่หินพัมมิสไม่พบในเขตอีสานใต้




ค่าเข้าชม

    ชาวไทย 20 บาท
    ชาวต่างชาติ 100 บาท

เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.

สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. 0 4478  2715 โทรสาร 0 4478 2717




ปราสาทหินพนมรุ้ง อยู่ใน 2 อำเภอ  คือ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอประโคนชัย ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 77 กิโลเมตร

เดินทางได้ 2 เส้นทาง 
  • เดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) ระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117  ตรงไปราว 6 กิโลเมตร  ถึงบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2221 อีก 6 กิโลเมตร  ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
  • เดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร จะถึงตัวอำเภอประโคนชัย พอถึงทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง  ถนนเส้นนี้ขับง่าย  เป็นเส้นตรงยาว   มีป้ายบอกทางเป็นระยะ ๆ  จากทางที่ไปปราสาทหินพนมรุ้ง  จะพบทางแยกเลี้ยวซ้ายไปปราสาทเมืองต่ำก่อน  ถ้าจะเที่ยวปราสาทเมืองต่ำ  ขอแนะนำให้แวะก่อนแล้วค่อยขึ้นไปพนมรุ้ง   
  • การเดินทางโดยรถประจำทาง 
  1.    รถโดยสารจากกรุงเทพฯ – เขาพนมรุ้ง ลงที่เชิงเขาแล้วต่อรถสองแถวขึ้นปราสาท
  2.    รถสายบุรีรัมย์ – นางรอง ลงสถานีนางรองแล้วต่อรถสองแถว




แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
แผนที่อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง





1. วิกิพีเดีย อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
2. ปราสาทหินพนมรุ้ง  http://www.xn--72c5agahuwlf8dm5fb4a9d8o.com/index.php/th/
3. การจำแนกเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยา และทรัพยากรธรณี จังหวัดบุรีรัมย์






goodness updated 25